สอบเตรียมทหาร2567ตามวันสอบ |
สอบเตรียมทหาร (นายเรืออากาศ) |
สอบเตรียมทหาร (นายเรือ) |
สอบเตรียมทหาร (นายร้อยจปร.) |
สอบเตรียมทหาร (นายร้อยตำรวจ) |
โรงเรียนเตรียมทหาร คืออะไร |
โรงเรียนเตรียมทหาร |
โรงเรียนนายร้อย จปร. |
โรงเรียนนายเรือ |
โรงเรียนนายเรืออากาศ |
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ |
คุณสมบัติผู้สอบโรงเรียนเตรียมทหาร |
เตรียมทหาร เหล่าทหารบก |
เตรียมทหารเหล่าทหารเรือ |
เตรียมทหาร เหล่าทหารอากาศ |
เตรียมทหาร เหล่าตำรวจ |
ประกาศผลสอบเตรียมทหาร67ปีล่าสุด |
เตรียมทหาร (นายร้อยจปร.) |
เตรียมทหาร (นายเรือ) |
เตรียมทหาร (นายเรืออากาศ) |
เตรียมทหาร (นายร้อยตำรวจ) |
โรงเรียนนายเรือ แนะนำโรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรือ เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนายทหารเรือชั้นสัญญาบัตรของกองทัพเรือไทย โดยสังกัดอยู่ในกรมยุทธศึกษาทหารเรือ กองทัพเรือ นักเรียนนายเรือที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาบัตรในระดับปริญญาตรีเช่นเดียวกับสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ และมีสิทธิได้รับการแต่งตั้งยศนายทหารชั้นสัญญาบัตรเป็น “ว่าที่เรือตรี”
นักเรียนนายเรือ นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารจะได้เลื่อนชั้นเป็นนักเรียนนายเรือเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายเรือซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์และโอกาสดังนี้ช่วงเวลาการศึกษาในโรงเรียนนายเรือ นักเรียนนายเรือจะได้รับเงินเดือนตั้งแต่ ๓,๐๗๐ – ๔,๑๖๐ บาท ตามชั้นปี กองทัพเรือออกค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ที่พัก อาหาร เครื่องแต่งกาย และสิทธิในการรักษาพยาบาลตามระเบียบของทางราชการที่กาหนด นักเรียนนายเรือ (ในส่วนของกองทัพเรือ)ที่มีผลการศึกษาดี มีสิทธิสอบคัดเลือกเพื่อไปศึกษาในโรงเรียนนายเรือต่างประเทศ(สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ยุโรป และเอเชีย) ปีละประมาณ ๓ - ๕ ทุน มีทุนการศึกษาสนับสนุน
นักเรียนนายเรือผู้มีผลการศึกษาดี และมีความประพฤติดีจะได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่หัวหน้าชั้นหรือนักเรียนบังคับบัญชาและจะได้รับเงินเดือนตั้งแต่ ๔,๔๐๐ - ๕,๓๔๐ บาท*
นักเรียนนายเรือจะได้รับการฝึกภาคปฏิบัติทางทะเลทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อเพิ่มพูนทักษะในการรับราชการและมีการเยี่ยมเยือนจังหวัดชายทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามันรวมถึงเมืองท่าของประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศกลุ่มอาเซียน รัสเซีย ญี่ปุุน จีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ศรีลังกา และอินเดีย
เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือผู้สำเร็จการศึกษาในส่วนของกองทัพเรือจะได้รับพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตรตามสาขาวิชาต่าง ๆ และจะได้รับการบรรจุเป็นนายทหารสัญญาบัตรของกองทัพเรือได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (พ.ช.ค.) รวม ๑๕,๐๐๐ บาท เมื่อเป็นนายทหารสัญญาบัตรของกองทัพเรือแล้วมีสิทธิสมัครเข้ารับการศึกษาเพิ่มเติมทางการทหารตามขีดความสามารถของตนเองและเป็นไปตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของทางราชการกำหนด เช่น
- นักบินของกองทัพเรือ ได้รับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือน สำหรับนักบินประจำกอง ๑๑,๐๐๐ บาท ถึง ๑๕,๐๐๐ บาท/เดือน - กำลังพลส่งทางอากาศ (นักโดดร่ม)ของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ได้รับเงิน เพิ่มพิเศษรายเดือน ๗,๐๐๐ บาท/เดือน
- นักทำลายใต้น้าจู่โจม (SEAL)ของหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ ได้รับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือน ๑๔,๖๐๐ บาท/เดือน
- นักประดาน้ำของกรมสรรพาวุธทหารเรือ ได้รับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือน ๗,๐๐๐ บาท/เดือน
- ต้นหนอากาศยาน ได้รับเงินเพิ่มพิเศษรายเดือน ๗,๐๐๐ บาท/เดือน
ผู้สำเร็จการศึกษาที่มีผลการศึกษาดี (คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า ๒.๘๐) มีสิทธิสมัครสอบคัดเลือกไปศึกษา ในระดับปริญญาโท หรือปริญญา โท - เอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในสาขาวิชาต่าง ๆ จำนวนมาก โดยทุนของกองทัพเรือ
ผู้สำเร็จการศึกษาในส่วนของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตำรวจน้ำ)จะได้รับพระราชทานกระบี่ และปริญญาบัตร และจะได้รับการบรรจุ เป็นนายตำรวจสัญญาบัตรของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมทั้งได้รับเงินเดือน และเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (พ.ช.ค.) รวม ๑๕,๐๐๐ บาท
ภาพจาก:https://www.navy.mi.th
ประวัติโรงเรียนนายเรือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาติตะวันตกได้เข้ามามีอิทธิพลในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์มากขึ้น โดยจุดหมายเพื่อการแสวงหาอาณานิคม ซึ่งในขณะนั้น ญวน เขมร และลาว ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ส่วนพม่าและมาเลเซีย ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ จากนั้นฝรั่งเศสก็เริ่มแผ่อิทธิพล เข้ามาในอินโดจีนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2435 เมอสิเออร์ เดอลองคส์ (M.Deloncle) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส ได้เสนอต่อรัฐสภา เร่งให้รัฐบาลฝรั่งเศส ใช้กำลังกับประเทศไทยในปัญหาเรื่องเขตแดน ซึ่งฝรั่งเศสอ้างว่าเคยเป็นของญวน และเขมร ฝรั่งเศสจึงยกกำลังทหาร เข้ามาประชิดฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และส่งเรือลูแตง (Lutin) เข้ามายังกรุงเทพมหานคร เมื่อต้นปี พ.ศ. 2438 โดยอ้างว่าเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ ของฝรั่งเศสที่มีอยู่ในไทย รัฐบาลไทยจึงจำต้องอดกลั้น ต่อความก้าวร้าวของฝรั่งเศสเสมอมาทว่าเหตุการณ์ไม่ได้ยุติลงเพียงแค่นั้น ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน รัฐบาลฝรั่งเศสได้ขออนุญาตต่อรัฐบาลไทย ที่จะนำเรือรบอีก 2 ลำ คือเรือแองคองสตังต์ (Inconstant) และเรือโคแมต (Comete) เข้ามายังประเทศไทยรวมกับเรือลูแตง (Lutin) ที่มาประจำอยู่ที่กรุงเทพมหานครแล้ว ซึ่งตรงจุดนี้ รัฐบาลไทยได้พิจารณาเห็นว่า การที่ต่างประเทศนำเรือรบของตน เข้ามาประจำอยู่ในกรุงเทพมหารนครเกิน 1ลำนั้นเป็นสิ่งที่ไม่น่าปลอดภัย สำหรับประเทศ ฝ่ายไทยจึงตอบปฏิเสธกลับไป แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยก็ไม่ได้นิ่งนอนใจแต่อย่างใด เนื่องจากการตอบปฏิเสธไปนั้น ย่อมสร้างความไม่พอใจให้แก่ฝรั่งเศส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระบรมราชโองการให้กองทัพเรือเตรียมกำลังป้องกัน การล่วงล้ำอธิปไตย ที่อาจเกิดขึ้น โดยต่อมา ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 เวลาเย็นก่อนพลบค่ำ ประเทศไทยถูกรุกรานทางทะเล จากนาวีฝรั่งเศส ด้วยการนำเรือรบแองคองสตังค์ และเรือรบโคแมต รุกล้ำสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อที่จะเข้ามายังกรุงเทพมหานคร โดยให้เรือสินค้าเยเบเซย์ (Jean Baptist Say) เป็นเรือนำร่อง ฝ่ายไทยได้ใช้กำลังเรือรบ และกำลังที่ประจำการที่ป้อมปากน้ำ สมุทรปราการ ในการต่อสู้อย่างสุดกำลัง แต่ก็ไม่อาจต้านทานไหว จนต้องถูกปรับ และสูญเสียดินแดนหนึ่งในสาม ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศสยาม คือ ดินแดงฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ดินแดนมณฑลบูรพา (ศรีโสภณ เสียมราฐ พระตะบอง) ให้ฝรั่งเศสไป เพื่อรักษาผืนแผ่นดินส่วนใหญ่ และเอกราชไว้ และในที่สุดปี พ.ศ. 2449 ฝรั่งเศสก็ได้ยอมถอนกำลังทั้งหมด ออกไปจากเขตแดนประเทศไทย ซึ่งจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ได้สร้างบทเรียนอันมีค่าให้แก่ไทยว่า “การที่มีชาวต่างชาติ มารับราชการในประเทศไทยนั้น เราจะพึ่งเขาให้ช่วยเหลือเรา ในยามคับขันไม่ได้”จากเรื่องราวอันน่าเจ็บปวด ของคนไทยทั้งชาติในคราวนั้น เป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ ในการที่จะต้องให้การศึกษาแก่คนไทย ในเรื่องการทหารเรือ เพื่อให้สามารถรับตำแหน่งต่างๆ ในเรือรบหลวง แทนชาวต่างประเทศ พระองค์ได้ทรงส่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ ไปศึกษาวิชาการด้านการปกครอง การทหารบก และการทหารเรือ รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ที่ทรงไปศึกษาวิชาทหารเรือจนสำเร็จการศึกษา จากประเทศอังกฤษ เป็นพระองค์แรก ต่อมาเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2441 ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนนายเรือขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า “โรงเรียนนายทหารเรือ” โดยใช้เรือพระที่นั่งมหาจักรี และเรือหลวงมูรธาวสิทธิ์สวัสดิ์ เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว รวมทั้งเรือหลวงพาลีรั้งทวีป และเรือหลวงสุครีพครองเมือง ด้วยนักเรียนนายทหารเรือ ในระยะเริ่มแรก จะศึกษาวิชาการเรือ เลขคณิต ทหารราบ ภาษาไทย และการฝึกหัดศึกษา อย่างเดียวกับคนประจำเรือ นอกจากนี้ยังมีการ ฝึกหัดปืนใหญ่ โดยอาจารย์ที่สอน ใช้ทั้งอาจารย์ไทย และอาจารย์ชาวต่างประเทศในช่วงเวลาต่อมา เมื่อจำนวนนักเรียนมากขึ้น จึงได้ย้ายโรงเรียนนายเรือ ไปตั้งอยู่ในตึกที่ประทับ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเดิม ที่วังนันทอุทยาน ธนบุรี โดยมีนาวาโท ไซเดอร์ลิน เป็นผู้บังคับการโรงเรียน ก่อนย้ายไปที่ พระตำหนักสุนันทาลัย ปากคลองตลาด และพระราชวังเดิม ตามลำดับ ต่อมาเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาทรงเปิดโรงเรียนนายเรือ และพระราชทานลายพระหัตถเลขา ไว้ในสมุดเยี่ยมของโรงเรียนนายเรือ ความว่า “วันที่ 20 พฤศจิกายน ร.ศ. 125 เราจุฬาลงกรณ์ ปร. ได้มาเปิดโรงเรียนนี้ มีความปลื้มใจ ซึ่งได้เห็นการทหารเรือมีรากหยั่งลงแล้ว จะเป็นที่มั่นสืบไปในภายหน้า” ในปี พ.ศ. 2454 กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้นำนักเรียนนายเรือ และนักเรียนนายช่างกล ไปอวดธงที่เกาะชวา โดยเรือหลวงมกุฎราชกุมาร พระองค์ทรงเป็นผู้บังคับการเรือ ด้วยพระองค์เอง ใช้นักเรียนนายเรือในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในเรือ และนับเป็นครั้งแรกที่คนไทย ได้เดินเรือไปต่างประเทศได้ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พระนครและธนบุรี ถูกภัยคุกคามทางอากาศ ทางการจึงได้ย้ายนักเรียนนายเรือ ไปเรียนที่สถานีทหารเรือสัตหีบ และได้สร้างโรงเรียนนายเรือแห่งใหม่ขึ้น ที่เกล็ดแกล้ว อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เพราะเห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะ สำหรับใช้ฝึกนักเรียน แต่ด้วยความไม่สะดวกหลายประการ ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2495 กองทัพเรือมีคำสั่งให้ย้ายโรงเรียนนายเรือ มาอยู่ที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยสับเปลี่ยนกับโรงเรียนชุมพลทหารเรือ ซึ่งย้ายไปอยู่ที่เกล็ดแกล้วแทนวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2497 กองทัพเรือได้สั่งการให้โรงเรียนนายเรือ เปลี่ยนแนวทางการศึกษา ให้เป็นระบบแบบมหาวิทยาลัยวันที่ 10 กันยายน 2523 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระบรมราชานุญาต สถาปนากองนักเรียนนายเรือ เป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ เรียกชื่อเต็มว่า “กองนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ”จากอดีตสู่ปัจจุบัน นับได้ว่าโรงเรียนนายเรือ มีประวัติศาสตร์อันยาวนานเกือบ 1 ศตวรรษ โดยได้ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2449 เมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาทรงเปิดโรงเรียนนายเรือ เมื่อปี พ.ศ. 2449 จนถึงทุกวันนี้เป็นระยะเวลากว่า 90 ปีแล้ว ที่รั้วสามสมอแห่งนี้ ได้ผลิตนายทหารออกประจำการ ในกองทัพเรือมาเป็นลำดับ นับว่าเป็นสถาบันอันสำคัญยิ่ง ของราชนาวีไทย…
ข้อมูล : https://www.rtna97.com/book_history.php
|