สถาบันด้านการทหารของไทยที่มีอายุมามากกว่า 100 ปี (ปี พ.ศ.2560 ครบรอบ 130 ปี)
เรามาดูประวัติกันนะครับ
ประวัติโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
พัฒนาการอันยาวนานกว่าหนึ่งศตวรรษ
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็นนามที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต
ขนานนามโรงเรียนนายร้อยทหารบก ในกระทรวงกลาโหม
เป็น "โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 องค์พระผู้พระราชทานกำเนิดสถาบันการศึกษาแห่งนี้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ขณะมีพระชนมายุ 15 พรรษา
พระองค์ทรงสนพระทัยในกิจการทหารทุกประเภท ประกอบกับในครั้งนั้นมีบุตรราชตระกูล
และข้าราชการที่มีอายุอยู่ในวัยเยาว์ เข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในหลายคนด้วยกัน
|
|
|
พ.ศ.2411
จัดตั้ง "ทหารมหาดเล็กไล่กา" ในชั้นแรกมีจำนวนประมาณ 12 คน
ทำหน้าที่ไล่กาที่บินมารบกวนข้าวสุกในเวลาทรงบาตร และได้จัดตั้งบอร์ดีการ์ดขึ้น 24 คน
โดยทรงเลือกจากทหารมหาดเล็กข้าหลวงเดิม และเรียกกันว่า "ทหาร 2 โหล"
พ.ศ.2413
จัดตั้ง"กองทหารมหาดเล็ก" โดยคัดเลือกบุคคลจากมหาดเล็กหลวงได้จำนวน 72 คน
และได้รวมทหาร 2 โหล เข้าสมทบอยู่ในพวกใหม่นี้ด้วย
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
พ.ศ.2414
เมื่อทรงจัดการทหารมหาดเล็กพอมีหลักฐานเรียบร้อยขึ้นแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้
ขนานนามกองทหารมหาดเล็กนี้ว่า "กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์"
พ.ศ.2415
จัดตั้งโรงเรียนขึ้นในกรมทหารมหาดเล็ก เพื่อสอนวิชาภาษาอังกฤษและภาษาไทย
เรียกสถานศึกษาว่า "คะเด็ตทหารมหาดเล็ก" ส่วนนักเรียนเรียกว่า "คะเด็ต"
ใช้เวลาศึกษา 2 ปี นักเรียนเหล่านี้นอนตามระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
พ.ศ.2424
โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสำหรับทหารหน้าขึ้น จึงกำเนิด "คะเด็ตทหารหน้า" ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง
ที่วังสราญรมย์ มีนักเรียนจำนวน 40 คน เรียกนักเรียน เหล่านี้ว่า "คะเด็ตทหารหน้า"
8 เม.ย. 2430
ให้รวมกรมทหารทั้ง 9 กรมได้แก่ กรมทหารบก 7 กรม ทหารเรือ 2 กรม
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เรียกว่า "กรมยุทธนาธิการ"
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
5 ส.ค. 2430
โปรดเกล้าฯให้รวมคะเด็ตทหารมหาดเล็ก คะเด็ตทหารหน้า
นักเรียนแผนที่และส่วนที่เป็นทหารสก็อต (ทหารมหาดเล็กรุ่นเยาว์สำหรับ
แห่โสกันต์) เข้าด้วยกันและใช้ชื่อรวมว่า "คะเด็ตสกูล" (ภาษาอังกฤษ)
โดยใช้พื้นที่บริเวณหลังพระราชวังสราญรมย์
และพระราชทานกำเนิดเป็น "โรงเรียนทหารสราญรมย์"
เนื่องในวันสำคัญนี้จึงถือเป็นวันพระราชทานกำเนิด
แหล่งผลิตนายทหารหลักให้แก่กองทัพบก
6 ต.ค. 2440
ได้รวมกองโรงเรียนนายสิบ เข้ามาสมทบอยู่ในโรงเรียนไทหารสราญรมย์
และเรียกชื่อใหม่ว่า "โรงเรียนสอนวิชาทหารบก"
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
พ.ศ.2441
จัดตั้งกรมเสนาธิการ ขึ้นตรงกับกรมยุทธนาธิการ และต่อมาได้จัดตั้งกรมยุทธศึกษา
ขึ้นตรงกับกรมเสนาธิการ โดยให้มีหน้าที่อำนวยการสอนแต่อย่างเดียว
และตราข้อบังคับใหม่เรียกว่า "ข้อบังคับโรงเรียนทหารบก"
และได้เปลี่ยนนามโรงเรียนเป็น "โรงเรียนทหารบก" เมื่อ 27 พ.ย. 2441
พ.ศ.2445
เนื่องจากโรงเรียนทหารบกที่ตั้งอยู่ริมวังสราญรมย์ ซึ่งให้การศึกษาในระดับประถมศึกษา
มีจำนวนนักเรียนมากขึ้นจนสถานที่เดิมแคบลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ขยายโรงเรียนมาตั้งที่ถนนราชดำเนินนอก มีพื้นที่ 30 ไร่เศษและขยายการศึกษา
เพิ่มเป็นระดับมัธยมศึกษา
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
11 พ.ย. 2451
โรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพลประจำกอง
โรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นมัธยมและโรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นประถม
แสดงว่านักเรียนนายร้อยไม่เพียงเรียนได้ดีเท่านั้น
ยังเป็นนักเรียนที่สามารถออกศึกสงคราม เช่นเดียวกับทหารบกทั้งปวง
และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
26 ธ.ค. 2452
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเปิดโรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม
อย่างเป็นทางการ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
พ.ศ.2468
|
|
อันเป็นสมัยที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
ทำให้ต้องจัดการย้ายโรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นประถม
จากบริเวณหลังพระราชวังสราญรมย์
เข้ามารวมกันที่โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม ถนนราชดำเนินนอก
เรียกว่า "โรงเรียนนายร้อยทหารบก"
และให้ยกเลิก ชั้นประถม และมัธยม
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
26 มี.ค. 2471
|
|
|
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานกระบี่และรางวัล
แก่นักเรียนนายร้อยทหารบกที่สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดทุกคนเป็นครั้งแรก
ตลอดจนถึงรัชกาลปัจจุบัน มีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชทานกระบี่เป็นประจำทุกปี
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
พ.ศ.2477
|
|
|
กรมยุทธศึกษาได้มีการปรับปรุงและจัดระเบียบใหม่ ทั้งบุคคลและหน่วยงาน
จึงได้มีการจัดตั้ง "โรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก" มีหน้าที่ฝึกอบรมนักเรียนที่จะเป็นนายทหารสัญญาบัตร
เหล่าทหารปืนใหญ่ ทหารช่าง ทหารสื่อสาร ทหารช่างแสง และช่างอากาศ
สำหรับโรงเรียนนายร้อยทหารบก มีหน้าที่ฝึกอบรมนักเรียนที่จะเป็นนายทหารสัญญาบัตร
เหล่าทหารราบ ทหารม้า และนายตำรวจ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
3 พ.ค.2489
ยุบโรงเรียนเท็ฆนิคทหารบก และแผนกตำรวจในกรมยุทธศึกษาทหารบก
และเปลี่ยนชื่อกรมยุทธศึกษาทหารบก เป็น "โรงเรียนนายร้อยทหารบก"
และให้ขึ้นตรงต่อกองทัพบก
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
1 ม.ค. 2491
ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต
ขนานนามโรงเรียนนายร้อยทหารบก ว่า "โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า"
เขียนเป็นอักษรโรมันว่า "Chulachomklao Royal Military Academy"
เพื่อเป็นอนุสรณ์และเฉลิมพระเกียรติ ในพระมหากรุณาธิคุณของ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็นผู้ก่อกำเนิด
และได้ดำเนินกิจการเป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติมาด้วยดี
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ธ.ค. 2523
|
|
|
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริให้โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ย้ายมาตั้งอยู่ที่บริเวณเขาชะโงก อำเภอเมือง ต่อกับอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
พื้นที่ประมาณ 21,000 ไร่เศษ และได้เริ่มโครงการก่อสร้าง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
29 ก.ค. 2529
|
|
|
เคลื่อนย้ายนักเรียนนายร้อย และข้าราชการ ออกจากที่ตั้งเดิม
เข้าสู่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ณ ที่ตั้งแห่งใหม่ จังหวัดนครนายก
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การสมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของ ทบ.
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เปิดรับสมัครบุคคลพลเรือน เข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของกองทัพบก ประจำปี
โดยผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ตามที่กำหนดไว้ กรุณาศึกษารายละเอียด การรับสมัคร โดยข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับการรับสมัครมีดังนี้
การรับสมัคร
- สมัครทางอินเตอร์เน็ต www.crma.ac.th
การสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก
- สอบภาควิชาการ
- สอบรอบสอง (ทดสอบสุขภาพจิต ตรวจร่างกาย สอบสัมภาษณ์ และพลศึกษา)
ผู้ผ่านการสอบคัดเลือก จะได้เข้าศึกษาต่อ ในโรงเรียนเตรียมทหาร เป็นเวลา 2 ปี
จากนั้นจึงเข้าศึกษาที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็นเวลา 5 ปี
เมื่อสำเร็จการศึกษา จะได้รับบรรจุ เข้ารับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตร
ของกองทัพบก ต่อไป
|
|
|
ข้อมูลช่วยในการตัดสินใจที่จะเลือกเป็นนักเรียนนายร้อย
เกียรติยศ เกียรติศักดิ์ของนักเรียนนายร้อย
มิได้อยู่ที่การแต่งเครื่องแบบโก้หรู มิได้อยู่ที่การศึกษาเพื่อได้เป็นเจ้าคนนายคน
มิได้อยู่ที่การ ได้มีโอกาสเล่าเรียนด้วยทุนของทางราชการ
หรือความภูมิใจที่ผ่านการคัดเลือกมาจากคนเป็นหมื่น ๆ คนเท่านั้น
เกียรติยศ เกียรติศักดิ์ โดยแท้จริง ของนักเรียนนายร้อย คือ
|
|
|
|
|
|
|
- เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
|
|
|
|
|
|
- เป็นผู้ตั้งใจอุทิศตนอย่างแน่วแน่ ที่จะเสียสละโอกาสและความสุขสบาย เพื่อรับใช้ชาติด้วยการเป็นทหาร
|
|
|
|
|
|
- เป็นผู้มีความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา มีความอดทน ไม่ย่อท้อต่อ ความยากลำบาก
ในการรับการฝึก การหัด และการฝึกฝนทั้งปวง เพื่อความเข้มแข็ง ทั้งร่างกาย และจิตใจ
รวมทั้งสติสัมปชัญญะเพื่อการเป็นผู้นำทหาร ที่มีความภาคภูมิใจ
และได้รับความเชื่อถือ ศรัทธาจากผู้ใต้บังคับบัญชาและคนทั่วไป
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
- เป็นผู้ที่พร้อมในการในการพัฒนาตนเองไปสู่ความมีวินัย จริยธรรม คุณธรรม ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
และเป็นตัวอย่าง ในการประพฤติตนเป็นคนดีและเสียสละ เพื่อชาติตลอดทั้งชีวิต
|
|
|
|
|
|
|
|
- เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รู้รอบ ตามทันการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม
และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
|
|
|
|
|
|
- เมื่อจบการศึกษาแล้วเป็นนายทหารหลักของกองทัพบก ซึ่งเป็นแบบฉบับของนายทหารผู้มีคุณสมบัติสมบูรณ์
ตามที่กองทัพและประเทศชาติพึงปรารถนา
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ข้อ ๗ การรับบุคคลเข้าเป็นนักเรียนนายร้อย
|
|
|
|
|
|
๗.๑ บุคคลเข้าเป็นนักเรียนนายร้อย จะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดของโรงเรียนเตรียมทหาร
ได้คะแนนตามที่ทางราชการกำหนด
|
|
|
|
|
|
ข้อ ๘ สิทธิและหน้าที่ของนักเรียนนายร้อย
|
|
|
|
|
|
๘.๑ นักเรียนนายร้อยเป็นนักเรียนทหาร ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยโรงเรียนทหาร พ.ศ. ๒๕๔๓
และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม
|
|
|
|
|
|
๘.๒ บุคคลที่สมัครเข้าเป็นนักเรียนนายร้อย ให้ถือว่าเป็นผู้ที่ร้องขอรับราชการ ทหารกองประจำการ ตามกฎ
กระทรวงออกตามคามในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
|
|
|
|
|
|
|
|
๘.๓ นักเรียนนายร้อยจะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ คำสั่ง แบบธรรมเนียมของ
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กับจะต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง
แบบธรรมเนียมของทหาร ทั้งยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายอีกด้วย
|
|
|
|
|
|
|
|
๘.๔ นักเรียนนายร้อยจะต้องรับการฝึกและอบรม ตามระเบียบและหลักสูตร ที่ทางราชการกำหนดโดยเคร่งครัด
|
|
|
|
|
|
๘.๕ นักเรียนนายร้อยมีสิทธิได้รับ เงินเดือน การเลี้ยงดู การรับสิ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ การรักษาพยาบาล
รวมทั้งสิทธิอื่น ๆ ตามที่ทางราชการกำหนดตลอดเวลาที่เป็นนักเรียนนายร้อย

|
|
|
|
|
 
|
ข้อมูล:http://www.crma.ac.th
เวบไซท์ : http://www.crma.ac.th