สอบเตรียมทหาร2567ตามวันสอบ |
สอบเตรียมทหาร (นายเรืออากาศ) |
สอบเตรียมทหาร (นายเรือ) |
สอบเตรียมทหาร (นายร้อยจปร.) |
สอบเตรียมทหาร (นายร้อยตำรวจ) |
โรงเรียนเตรียมทหาร คืออะไร |
โรงเรียนเตรียมทหาร |
โรงเรียนนายร้อย จปร. |
โรงเรียนนายเรือ |
โรงเรียนนายเรืออากาศ |
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ |
คุณสมบัติผู้สอบโรงเรียนเตรียมทหาร |
เตรียมทหาร เหล่าทหารบก |
เตรียมทหารเหล่าทหารเรือ |
เตรียมทหาร เหล่าทหารอากาศ |
เตรียมทหาร เหล่าตำรวจ |
ประกาศผลสอบเตรียมทหาร67ปีล่าสุด |
เตรียมทหาร (นายร้อยจปร.) |
เตรียมทหาร (นายเรือ) |
เตรียมทหาร (นายเรืออากาศ) |
เตรียมทหาร (นายร้อยตำรวจ) |
โรงเรียนเตรียมทหาร แนะนำโรงเรียนเตรียมทหาร
โรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย (รร.ตท.สปท.บก.ทท.) เป็นโรงเรียนทหารระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.5-ม.6) ในสังกัดกระทรวงกลาโหม มีภารกิจในการให้การศึกษาแก่นักเรียนเตรียมทหาร ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีระยะเวลาการศึกษา 2 ปี (ม.5-ม.6) โดยมีการสอนภาควิชาการเหมือนนักเรียน ม.5-ม.6 ในสายสามัญทั่วไป (เน้นสายวิทย์-คณิต) โดยจะเพิ่มรายวิชาการทหาร-ตำรวจเบื้องต้น และเน้นเรื่องการฝึกฝนระเบียบวินัย และสมรรถนะร่างกายให้ปรับสภาพให้พร้อม และเหมาะสมที่จะเข้ารับการศึกษาต่อใน โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, โรงเรียนนายเรือ, โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ต่อไป โรงเรียนเตรียมทหาร Armed Forces Academies Preparatory School (รร.ตท. / AFAPS) เป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เป็นศูนย์รวมเบื้องต้นสำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อใน โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ โดยผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร เรียกว่า นักเรียนเตรียมทหาร (นตท.)
ตึกกองบัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร
การรับสมัครนักเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนเตรียมทหารมิได้เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหารด้วยตนเอง แต่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก โดยในแต่ละปีจะมีการกำหนดจำนวน รับนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของโรงเรียนนายร้อยแต่ละเหล่าทัพ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากนั้นเมื่อผ่านการสอบคัดเลือกของโรงเรียนนายร้อยแต่ละเหล่าทัพแล้ว โรงเรียนนายร้อยทั้ง 4 เหล่าทัพ จะส่งผู้ผ่านการสอบคัดเลือก มาเรียนรวมกันที่ โรงเรียนเตรียมทหาร เป็นเวลา 2 ปี ภายหลังจากที่สำเร็จการศึกษา ตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว นักเรียนเตรียมทหารเหล่านี้ จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยแต่ละเหล่าทัพ ตามที่นักเรียนได้สมัครและผ่านการสอบคัดเลือกอัตโนมัติไม่ต้องสอบอีก เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเหล่าทัพ หรือโรงเรียนนายร้อยตำรวจแล้ว นักเรียนนายร้อย เหล่านี้ จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตร (ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี) และนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร (ร้อยตำรวจตรี) พร้อมทั้งเข้ารับพระราชทานกระบี่ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และทำงานรับใช้ประเทศชาติ ด้วยเกียรติ ศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจ ปัจจุบัน โรงเรียนเตรียมทหาร เปิดรับสมัครนักเรียนชายชั้น ม.4 ขึ้นไป อายุไม่เกิน 16-18 ปี (นับพ.ศ.) เรียนรวมกันที่โรงเรียนเตรียมทหาร 2 ปี โดยภารกิจหลักคือ ให้ความรู้ความสามารถ ในวิชาการทหารตำรวจเบื้องต้น เพื่อปลูกผังคุณสมบัติการเป็นผู้นำ อุปนิสัย อัธยาศัย กำลังใจให้เข้มแข็งมั่นคง ตลอดจนเสริมสร้างพลานามัย เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาทุกคนมีพื้นฐาน ความรู้ คุณสมบัติ และสมรรถภาพอันเหมาะสม ที่จะเข้ารับการศึกษาต่อใน โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรืออากาศ โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจต่อไป ตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทย์-คณิต) จึงจะแยกไปศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตามเหล่าที่นักเรียนได้เลือกไว้ ตั้งแต่ตอนสมัครคัดเลือก
กำหนดการสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร ปีการศึกษา 2567 (โดยสรุป) คุณสมบัติหลักๆ ของผู้สมัครสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร ปีการศึกษา 2567 1. กำลังศึกษาชั้น ม.4 ขึ้นไป หรือ เทียบเท่า 2. เกิด พ.ศ. 2549 - 2551 มีอายุระหว่าง 16-18 ปี บริบูรณ์ (นับเฉพาะ พ.ศ.) 3. เป็นนักเรียนชายโสด สัญชาติไทย โดยมีบิดา-มารดาสัญชาติไทยโดยกำเนิด 4. มีอวัยวะ รูปร่าง ท่าทาง สุขภาพสมบูรณ์ เหมาะสมแก่การเป็นนายทหาร - นายตำรวจ 5. ขนาดของร่างกาย ต้องมีขนาดพิกัด ความสมบูรณ์โดยไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด การสอบ แบ่งออกเป็น 2 รอบ ถ้าไม่ผ่านรอบแรกจะไม่ได้สอบรอบ 2 การสอบรอบแรก(วิชาการ) เป็นการสอบภาควิชาการ สอบ 5 วิชาหลัก (คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคม) เนื้อหาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและ ม.4 ถ้าไม่ผ่านรอบแรกจะไม่ได้สอบรอบ 2 การสอบรอบ 2 เป็นการทดสอบความถนัดและวิภาววิสัย (สุขภาพจิต), การสอบพลศึกษา ,การสอบสัมภาษณ์ท่วงทีวาจา และการตรวจร่างกาย จะต้องเป็นผู้ที่สอบผ่านภาควิชาการแล้วเท่านั้น 1 . การทดสอบความถนัดและวิภาววิสัย - การทดสอบความถนัด เป็นการทดสอบสมรรถภาพ หรือศักยภาพพื้นฐานทางสมองของบุคคลที่มีอยู่ ซึ่งได้รับการสร้างสมมาจากประสบการณ์และการฝึกตนเองเป็นเวลานาน จนเกิดเป็นทักษะที่พร้อมจะปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างเข้ารับการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ - การทดสอบวิภาววิสัย เป็นการทดสอบสภาวะ ทางนามธรรมของบุคคลทางด้านคุณธรรม จริยธรรม เช่น ทัศนคติ ความสนใจ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม ความกล้าหาญ ฯลฯ 2. การสอบพลศึกษา เป็นการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย ว่ายน้ำ และกีฬา ซึ่งประกอบด้วยสถานีทดสอบทั้งสิ้น 8 สถานี ผู้เข้าสอบจะต้องทำการสอบให้ครบทุกสถานี ถ้าขาดสอบสถานีใดสถานีหนึ่งถือว่าสอบตกให้คัดออก - นั่งงอตัว - ยืนกระโดไกล - ลุกนั่ง 30 วินาที - วิ่งเก็บของ - วิ่งระยะทาง 50 เมตร - ดึงข้อ - วิ่งระยะทาง 1,000 เมตร - ว่ายน้ำ 50 เมตร 3. การสัมภาษณ์ลักษณะท่วงทีวาจา เป็นการพิจารณาลักษณะ รูปร่าง ท่าทาง ความสมบูรณ์ของร่างกาย ความองอาจ ว่องไว ปฏิภาณไหวพริบ และสภาพจิตใจ ตลอดจนคุณสมบัติความเหมาะสมที่ จะเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร 4. การตรวจร่างกาย (ผลการตรวจ ผ่าน, ไม่ผ่าน) เป็นการพิจารณาตรวจสอบผู้สมัครมีอวัยวะและสุขภาพสมบูรณ์ มีความเจริญเติบโตของร่างกายสมส่วนกับอายุ ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา พิธีรับแหวนรุ่นโรงเรียนเตรียมทหาร
โรงเรียนเตรียมทหารในปัจจุบัน ภารกิจ มีหน้าที่ปกครอง บังคับบัญชา และให้การศึกษา อบรม ในด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษพิสัย กับวิชาทหารและวิชาตำรวจ
เพื่อให้นักเรียนเตรียมทหาร เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและทัศนคติพื้นฐาน พร้อมที่จะพัฒนาตนเอง ให้เป็นผู้ที่มีความก้าวหน้าทั้งในด้านความรู้ อุปนิสัย และคุณสมบัติของผู้นำหน่วย การเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร บุคคลที่รับเข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร แบ่งเป็น 2 ประเภท 1. บุคคลทั่วไปที่สมัครสอบคัดเลือก(จบชั้น ม.4 ) 2. นักเรียนนายสิบทหารบก ที่มีผลการเรียนดีระดับTopTen(1ใน10) ของโรงเรียนนายสิบทหารบก จากทุกเหล่าวิทยาการทั่วประเทศ
1.สิทธิประโยชน์ในช่วงเวลาการศึกษาอยู่ ในโรงเรียนเตรียมทหาร และโรงเรียนนายร้อยทั้ง4เหล่าทัพ 1.1 กองทัพออกค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ที่พัก อาหาร เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงการรักษาพยาบาลตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ ทั้งในโรงเรียนเตรียมทหารและโรงเรียนนายร้อยทั้ง 4 เหล่าทัพ 1.2 สามารถเลือกเรียนในสาขาต่างๆ ได้เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ บริหารฯ ในโรงเรียนนายร้อยทั้ง 4 เหล่าทัพ 1.3 นักเรียนทุกคนจะได้รับเงินเดือนประจำตามแต่ละชั้นปีตั้งแต่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเตรียมทหาร และโรงเรียนนายร้อยทั้ง 4 เหล่าทัพ จนจบการศึกษา 1.4 นักเรียนเตรียมทหารและนักเรียนนายร้อยที่เรียนดีมี ทุนเพื่อไปศึกษาต่อในสถาบันทหารต่างประเทศ เช่น ประเทศ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน ฯ 1.5 มีทุนการศึกษาสนับสนุน นักเรียนเตรียมทหารและนักเรียนนายร้อยที่เรียนดี และ มีความประพฤติดีแต่มีฐานะยากจนเป็นจำนวนมาก 1.6 นักเรียนเตรียมทหารและนักเรียนนายร้อย ที่มีผลการศึกษาดี มีความประพฤติดี จะได้รับแต่งตั้ง ให้ทำหน้าที่หัวหน้าห้อง(หัวหน้าตอน) หรือนักเรียนบังคับบัญชาและได้รับเบี้ยเลี้ยงพิเศษ นอกเหนือจากเงินเดือนประจำเพิ่มเติมอีกด้วย 1.7 มีการจัดการดูงานและการฝึกภาคสนาม ของนักเรียนเตรียมทหารและนายร้อย ทั้งในและต่างประเทศของเหล่าทัพต่างๆ
2. สิทธิประโยชน์เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทั้ง 4 เหล่า 2.1 ได้รับพระราชทานกระบี่จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 2.2 ได้รับปริญญาบัตรในสาขาวิชาต่างๆตามแต่เหล่าทัพ เช่น วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต วิทยาศาสตร์บัณฑิต ฯ 2.3 ได้รับการบรรจุเป็นนายทหาร-นายตำรวจ ชั้นสัญญาบัตร และจะได้รับเงินเดือนและสวัสดิการต่างๆ ตามชั้นยศ 2.4 นักเรียนนายร้อยผู้ที่มีการศึกษาดี มีสิทธิ์สอบคัดเลือกไปศึกษาในระดับปริญญาโท ถึง ปริญญาโท-เอก ณ ต่างประเทศ โดย ทุนของแต่ละเหล่าทัพในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ 2.5 มีงานทำแน่นอน และเป็นอาชีพที่มั่นคงที่สุดในปัจจุบัน
แผนที่และการเดินทางไปโรงเรียนเตรียมทหาร ที่อยู่โรงเรียนเตรียมทหาร :
ที่มาข้อมูล :https://th.wikipedia.org , https://www.afaps.ac.th
|